เมนู

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสกนิบาต [5. ปํญจมปัณณาสก์] 1. กรชกายวรรค 10. อธัมมจริยาสูตร
ความประพฤติอธรรม และความประพฤติไม่สม่ำเสมอทางกาย 3 ประการ
เป็นอย่างไร
คือ บุคคลบางคนในโลกนี้เป็นผู้ฆ่าสัตว์ ฯลฯ1 ความประพฤติอธรรมและความ
ประพฤติไม่สม่ำเสมอทางกาย 3 ประการ เป็นอย่างนี้แล
ความประพฤติอธรรมและความประพฤติไม่สม่ำเสมอทางวาจา 4 ประการ
เป็นอย่างไร
คือ บุคคลบางคนในโลกนี้เป็นผู้พูดเท็จ ฯลฯ ความประพฤติอธรรมและความ
ประพฤติไม่สม่ำเสมอทางวาจา 4 ประการ เป็นอย่างนี้แล
ความประพฤติอธรรมและความประพฤติไม่สม่ำเสมอทางใจ 3 ประการ
เป็นอย่างไร
คือ บุคคลบางคนในโลกนี้เป็นผู้เพ่งเล็งอยากได้ของเขา ฯลฯ ความประพฤติ
อธรรมและความประพฤติไม่สม่ำเสมอทางใจ 3 ประการ เป็นอย่างนี้แล
เพราะความประพฤติอธรรมและความประพฤติไม่สม่ำเสมอเป็นเหตุอย่างนี้แล
สัตว์บางพวกในโลกนี้ หลังจากตายแล้วจึงไปเกิดในอบาย ทุคติ วินิบาต นรก
พราหมณ์ ความประพฤติธรรม และความประพฤติสม่ำเสมอทางกาย 3
ประการ ความประพฤติธรรมและความประพฤติสม่ำเสมอทางวาจา 4 ประการ
ความประพฤติธรรม และความประพฤติสม่ำเสมอทางใจ 3 ประการ
ความประพฤติธรรมและความประพฤติสม่ำเสมอทางกาย 3 ประการ
เป็นอย่างไร
คือ บุคคลบางคนในโลกนี้เป็นผู้ละเว้นขาดจากการฆ่าสัตว์ ฯลฯ ความ
ประพฤติธรรมและความประพฤติสม่ำเสมอทางกาย 3 ประการ เป็นอย่างนี้แล
ความประพฤติธรรมและความประพฤติสม่ำเสมอทางวาจา 4 ประการ
เป็นอย่างไร

เชิงอรรถ :
1 ฯลฯ ที่ปรากฏในสูตรนี้ ดูความเต็มในข้อ 217 (ปฐมสัญเจตนิกสูตร) หน้า 357 ในเล่มนี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 24 หน้า :367 }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสกนิบาต [5. ปํญจมปัณณาสก์] 1. กรชกายวรรค รวมพระสูตรที่มีในวรรค
คือ บุคคลบางคนในโลกนี้เป็นผู้ละเว้นขาดจากการพูดเท็จ ฯลฯ ความ
ประพฤติธรรมและความประพฤติสม่ำเสมอทางวาจา 4 ประการ เป็นอย่างนี้แล
ความประพฤติธรรมและความประพฤติสม่ำเสมอทางใจ 3 ประการ
เป็นอย่างไร
คือ บุคคลบางคนในโลกนี้เป็นผู้ไม่เพ่งเล็งอยากได้ของเขา ฯลฯ ความ
ประพฤติธรรมและความประพฤติสม่ำเสมอทางใจ 3 ประการ เป็นอย่างนี้แล
พราหมณ์ เพราะความประพฤติธรรมและความประพฤติสม่ำเสมอเป็นเหตุ
อย่างนี้แล สัตว์บางพวกในโลกนี้ หลังจากตายแล้วจึงไปเกิดในสุคติโลกสวรรค์”
พราหมณ์กราบทูลว่า “ข้าแต่ท่านพระโคดม ภาษิตของพระองค์ชัดเจนไพเราะ
ยิ่งนัก ฯลฯ ขอท่านพระโคดมจงทรงจำข้าพระองค์ว่าเป็นอุบาสกผู้ถึงสรณะตั้งแต่
วันนี้เป็นต้นไปจนตลอดชีวิต”
อธัมมจริยาสูตรที่ 10 จบ
กรชกายวรรคที่ 1 จบ

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ

1. ปฐมนิรยสัคคสูตร 2. ทุติยนิรยสัคคสูตร
3. มาตุคามสูตร 4. อุปาสิกาสูตร
5. วิสารทสูตร 6. สังสัปปติปริยายสูตร
7. ปฐมสัญเจตนิกสูตร 8. ทุติยสัญเจตนิกสูตร
9. กรชกายสูตร 10. อธัมมจริยาสูตร


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 24 หน้า :368 }